นายดอนเดช กลางประพันธ์
นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเป้า
ด้านศาสนา/ประเพณี/วัฒนธรรม
  • การนับถือศาสนา

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
 

  • ประเพณีและงานประจำปี

       ฮีตสิบสองมาจากคำ ๒ คำ คือ ฮีต กับ สิบสอง ฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงาม ชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสอง หมายถึง        เดือนทั้ง ๑๒ เดือน ในหนึ่งปีฮีตสิบสอง จึงหมายถึง ประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปี ประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานั้นล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กัน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมานสามัคคีมีความรักใคร่กัน ของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีอีสานส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากประเพณีภาคอื่นๆ (อาจคล้ายคลึงกับประเพณีของทางภาคเหนือบ้างเพราะมีที่มาค่อนข้างใกล้ชิดกัน)ประเพณีอีสาน ได้รับอิทธิพลมา จากวัฒนธรรมล้านช้าง(แถบหลวงพระบางประเทศลาว)จึงจะเห็นได้ ว่าประเพณีของชาวอีสาน และชาวลาวมีความคล้ายกันเพราะมีที่มาเดียวกันและชาวอีสานและชาวลาวก็ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ เยี่ยงญาติพี่น้องทำให้มีการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกันด้วย    ฮีตสิบสองได้แก่

                                

             เดือนอ้าย(เดือนเจียง)-บุญข้าวกรรม                เดือนยี่ - บุญคูณลาน

เดือนสาม-บุญข้าวจี่                                        เดือนสี่-บุญเผวส                                            

เดือนห้า-บุญสงกรานต์                                   เดือนหก-บุญบั้งไฟ                                           

เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ                                       เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา                                            

เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน                           เดือนสิบ-บุญข้าวสาก                                            

เดือนสิบเอ็ด-บุญออกพรรษา                         เดือนสิบสอง-บุญกฐิน


คองสิบสี่ หมายถึง ครองธรรม ๑๔ อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของบ้านเมือง คลองสิบสี่มีหลายแบบหลายประเภท พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

                         คองสิบสี่แบบที่ ๑ - กล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องกับครอบครัวในสังคมตลอดจนผู้มี่หน้าที่ปกครองบ้านเมือง

คองสิบสี่แบบที่ ๒ - กล่าวถึงหลักการที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติในการปกคลองบ้านเมือง และข้อที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์ และจารีตประเพณีที่พึงปฏิบัติให้บ้านเมืองสงบสุข

คองสิบสี่แบบที่ ๓ - กล่าวถึงธรรมที่พระราชาพึงยึดถือปฏิบัติ และเน้นหนักให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และข้อที่คนในครอบครัวพึงปฏิบัติต่อกัน

คองสิบสี่แบบที่ ๔ - กล่าวถึงไปแนวทางฮีตบ้านคลองเมือง คือการดำเนินการปกครองบ้านเมืองเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เป็นสุขและปฏิบัติตามประเพณี

คองสิบสี่สำหรับพระสงฆ์

คองสิบสี่สำหรับนักปกครอง

คองสิบสี่สำหรับประชาชน

                              เพิ่มเติม
                                             คลอง (ครรลอง) คือแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งหนึ่งว่า "Way of life" แต่คลองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียงคลองเป็นคองไม่มีกล้ำ เช่นว่าถ้าทำไม่ถูกผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" หรือว่า "เฮ็ดให้ถือฮีตถือคอง" เป็นต้นฉบับของท่านเจ้าพระอริยานุวัตร มีคำฮีตนำหน้าด้วย คือ
                                            ๑. ฮีตเจ้าคลองขุน  เป็นหลักสำหรับผู้ปกครองในสมัยโบราณ  ขุนก็คือเจ้าเมือง  เช่น         ขุนเบฮม ขุนลอ ขุนทึง เป็นต้น (ภาคกลางก็มีเช่นพ่อขุนรามคำแหง)
                                            ๒.  ฮีตท้าวคลองเพีย (เจ้าปกครองขุน)
                                            ๓.  ฮีตไพร่คลองนาย (ไพร่ปฎิบัติต่อนาย)
                                            ๔.  ฮีตบ้านคลองเมือง (ประเพณีของบ้านเมือง)
                                            ๕.  ฮีตปู่คลองย่า
                                            ๖.  ฮีตตาคลองยาย
                                            ๗.  ฮีตพ่อคลองแม่ (พรหมวิหารธรรม)
                                            ๘.  ฮีตไภ้คลองเขย (หลักปฎิบัติของลูกสะใภ้ลูกเขย)
                                            ๙.  ฮีตป้าคลองลุง
                                          ๑๐.  ฮีตลูกคลองหลาน
                                          ๑๑.  ฮีตเถ้าคลองแก่ (ธรรมของผู้ชายที่มีต่อเด็ก)
                                          ๑๒.  ฮีตปีคลองเดือน (คือฮีตสิบสองนั่นเอง)
                                          ๑๓.  ฮีตไฮ่คลองนา
                                          ๑๔.  ฮีตวัดคลองสงฆ์
 

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ผ้าหมักโคลน
  • แพทย์แผนไทย
  • ผ้าไหมลายแก้วมุกดา
  • ข้าวเกรียบ
  • เสื้อเย็บมือ
  • ผ้าฝ้าย

2. ภาษาถิ่น
  • ภาษาภูไท
  • ภาษาลาว
  • ภาษาไทย
     
  • สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

    สินค้าพื้นมืองของตำบลบ้านเป้า ได้แก่
  1. ผ้าฝ้าย 
  2. ผ้าไหม 
  3. ผ้าหมักโคลน 
  4. เสื้อเย็บมือ 
  5. ผ้าพันคอตุ๊กตาผ้าเช็ดมือ     
  6. ผ้าขาวม้า 
  7. ข้าวเกรียบ  

 
 
เว็บตรง